Skip to content

เชื้อราในชินชิลล่า: สาเหตุและวิธีการรักษา 🦠

Share to Social Media:

ทำไมชินชิลล่าถึงติดเชื้อราได้ง่าย?

ชินชิลล่าเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดจากภูเขาสูงในทวีปอเมริกาใต้ เช่น อาร์เจนตินา เปรู และชิลี ซึ่งมีสภาพอากาศหนาวและแห้ง เมื่อถูกนำมาเลี้ยงในประเทศไทยที่อากาศร้อนและชื้น สภาพผิวหนังของชินชิลล่าจึงอ่อนแอ และมีโอกาสติดเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงร่วม เช่น

  • สภาพแวดล้อมอับชื้น
  • ไม่ได้อาบทรายเป็นประจำ
  • มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

แล้วชินชิลล่าจะติดพวกไรขี้เรื้อนหรือไรขนได้ไหม?

โอกาสติดไรภายนอกต่ำมาก เพราะขนของชินชิลล่าแน่นมาก (ในหนึ่งรูขุมขนมีขนประมาณ 50-60 เส้น) ซึ่งไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของไรภายนอก


อาการของโรคเชื้อราในชินชิลล่า

  • ขนร่วงเป็นหย่อมๆ (บริเวณจมูก หู ปาก มือ หรือจุดอับชื้น)
  • ผิวหนังบริเวณนั้นอาจแดง อักเสบ
  • ขนบริเวณรอบๆ อ่อนแอและหลุดง่าย
  • อาจพบสะเก็ดสีขาวบริเวณผิวหนัง

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในชินชิลล่า

  1. การส่องไฟ Wood’s Lamp
    • เชื้อราบางชนิดจะเรืองแสงสีเขียว
    • แต่ไม่สามารถตรวจพบได้ทุกชนิด
  2. การตรวจขนและผิวหนังใต้กล้องจุลทรรศน์
    • ดูลักษณะเส้นขนว่ามีการเปราะ แตก หรือมีสปอร์ของเชื้อราหรือไม่
  3. การเพาะเชื้อ
    • แม่นยำที่สุด แต่ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

วิธีรักษาโรคเชื้อราในชินชิลล่า

  • ใช้วิธีฟอกยาและล้างออก แทนการทายาทิ้งไว้ เพื่อป้องกันการเลียและกลืนยา
  • อาจใช้ยากินฆ่าเชื้อราตามความรุนแรงของโรค
  • โดยทั่วไปใช้ระยะเวลารักษามากกว่า 1 สัปดาห์ขึ้นไป

วิธีป้องกันการติดเชื้อรา

  • อาบทรายเป็นประจำ เพื่อช่วยลดความชื้นในขน
  • เลี้ยงในที่อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น
  • รักษาความสะอาดของกรงและอุปกรณ์ทุกวัน
  • หากพบขนร่วงผิดปกติ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์

สรุป:
เชื้อราในชินชิลล่าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประเทศไทย แต่สามารถป้องกันและรักษาได้หากเจ้าของดูแลเรื่องความสะอาดและสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม