Skip to content

โรครากฟันงอก หรือ Pseudo-Odontoma ในกระรอกและแพรี่ด็อก

Share to Social Media:

โรครากฟันงอกในกระรอกและแพรี่ด็อก

ครากฟันงอกเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสัตว์ฟันแทะ โดยเฉพาะกระรอกและแพรี่ด็อก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ตั้งแต่น้ำมูกไหลเรื้อรังไปจนถึงหายใจลำบาก สาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับอาหารและพฤติกรรมการแทะ

อาการที่พบบ่อย

  • น้ำมูกไหลเรื้อรัง
  • หายใจลำบาก
  • กินอาหารลดลง น้ำหนักลด
  • มีลักษณะบวมบริเวณจมูกหรือใบหน้า
  • มีปัญหาทางเดินหายใจจากการกดเบียดของรากฟัน

การวินิจฉัย

  • X-ray และ CT Scan: ใช้ตรวจดูโครงสร้างของรากฟันและการลุกลาม
  • ตรวจร่างกายและซักประวัติ: เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

การรักษา

1. การรักษาทางยา (กรณีที่อาการยังไม่รุนแรง)

  • ให้ยาปฏิชีวนะและยาลดอักเสบ (Steroid)
  • ใช้ยา Decongestant เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
  • พ่นยา และออกซิเจนบำบัด

ข้อเสีย: เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ไม่สามารถแก้ไขสาเหตุของโรคได้

2. การรักษาด้วยการผ่าตัด (กรณีที่รุนแรงหรือเรื้อรัง)

  • Transpalatal Approach: เป็นวิธีที่นิยมใช้ในกระรอก
  • Standard Extraction: ถอนฟันที่ผิดปกติ
  • Rhinostomy: นิยมใช้ในแพรี่ด็อก

เทคนิคสำคัญในการวางยาสลบ

  • แนะนำให้สอดท่อช่วยหายใจ (Endotracheal Tube) เบอร์ 1-1.5
  • สามารถใช้ Feeding Tube เบอร์ 5 หรือ 8 แทนได้
  • Facemask (Rodent Mask): ใช้ได้ในบางกรณี
  • ใช้ Capnometer เพื่อติดตามระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

การป้องกันโรค

  • ให้อาหารที่เหมาะสม ไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการแทะกรงเหล็ก
  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติ

ข้อคิดสำคัญสำหรับเจ้าของ

  • การรักษาด้วยการผ่าตัดมีอัตราความสำเร็จที่สูงขึ้นมากในปัจจุบัน
  • ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนตัดสินใจ
  • การดูแลหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญต่อการฟื้นตัวของสัตว์เลี้ยง

หากเจ้าของคนไหนกำลังเผชิญกับโรคนี้ อยากให้รู้ว่า คุณไม่ได้เผชิญปัญหานี้เพียงลำพัง

#หน่วยศัลยกรรมสัตว์เลี้ยงพิเศษ
#ANSให้เราเป็นคำตอบของทุกการรักษา