อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา
🐰 ไรในหู หรือ Psoroptes cuniculi เป็นปรสิตที่พบได้บ่อยในกระต่าย และสามารถสร้างความเจ็บปวด รำคาญ และความเครียดให้กับกระต่ายได้มาก หากไม่รักษาอย่างทันท่วงที อาจลุกลามจนถึงขั้น อักเสบในหูชั้นใน หรือทำให้กระต่ายสูญเสียการทรงตัวได้
ไรในหูคืออะไร?
ไรชนิดนี้อาศัยอยู่ในรูหูของกระต่าย กัดกินน้ำเหลืองและทำให้เกิดการอักเสบ สะสมเป็นขี้หูแข็งสีแดงหรือน้ำตาล หากปล่อยไว้ อาจลามออกมาที่ผิวหนังใบหน้า และบางกรณีรุนแรงจนเกิดอาการทางระบบประสาท
กระต่ายติดไรในหูได้อย่างไร?
1️⃣ การสัมผัสโดยตรง
- จากแม่สู่ลูก
- จากกระต่ายที่ติดโรคตัวหนึ่งไปยังอีกตัว
2️⃣ การติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อม
- ไรสามารถตกค้างในกรง พื้น ที่นอน หรืออุปกรณ์เลี้ยง
- หากไม่ได้ทำความสะอาดสม่ำเสมอ กระต่ายตัวใหม่อาจติดได้ง่าย
อาการของกระต่ายที่เป็นไรในหู
🟢 ระยะเริ่มต้น
- สบัดหัวบ่อย
- เกาหูผิดปกติ
- ขนร่วงรอบใบหู
- มีสะเก็ดขี้หูหรือคราบสีแดง/น้ำตาลในรูหู
🔴 ระยะรุนแรง
- หัวเอียง เดินเซ
- สูญเสียการทรงตัว
- ชัก หรือไม่ยอมกินอาหาร
⚠ หากลุกลามไปถึงหูชั้นใน อาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและรักษายากขึ้น
วิธีรักษาไรในหูกระต่าย
ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อขูดตรวจสะเก็ดหู และเริ่มการรักษาอย่างปลอดภัย
🔹 รูปแบบการรักษา
1️⃣ การฉีดยา
- ฉีดกำจัดไรทุก 14 วัน ติดต่อกัน 2–3 ครั้ง
2️⃣ การหยดยา
- หยดบริเวณหลังคอ ทุก 14 วัน เช่นเดียวกับการฉีดยา
- มักใช้ยากลุ่มเดียวกับยาหยัดเห็บหมัดในสัตว์เลี้ยง
❗️ข้อควรระวัง:
- 🚫 ห้ามแคะหรือแกะสะเก็ดหู เพราะอาจทำให้กระต่ายเจ็บ หูฉีก หรืออักเสบมากขึ้น
- สะเก็ดจะหลุดเองภายใน 1–2 สัปดาห์หลังเริ่มรักษา
วิธีป้องกันไรในหูกระต่าย
✅ ทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์เป็นประจำ
✅ แยกกระต่ายป่วยออกจากกระต่ายปกติ
✅ สังเกตพฤติกรรม เช่น การเกาหู สะบัดหัว หรือขนร่วง
✅ ตรวจสุขภาพหูอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
สรุป: รู้เร็ว รักษาเร็ว = ปลอดภัย
- ไรในหูเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่ สามารถรักษาให้หายขาดได้
- การสังเกตอาการและพาไปหาหมอตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยลดความเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อน
- หลีกเลี่ยงการรักษาเองโดยไม่ปรึกษาสัตวแพทย์
📢 แชร์บทความนี้ เพื่อช่วยให้เจ้าของกระต่ายคนอื่นๆ รู้เท่าทันโรค และดูแลน้องกระต่ายให้สุขภาพดีทุกวัน!
ด้วยความห่วงใยจาก Animal Space Hospital
www.animalspacehospital.com