🐦เมื่อนกขาหัก… เราจะทำยังไงดี?
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าเราจะระวังแค่ไหนก็ตาม หนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยในนกคือ “ขาหัก” ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ลูกนกไปจนถึงนกโต
สาเหตุที่พบบ่อย
- ลูกนกที่ถูกแม่นกทับ
มักเกิดในแม่นกที่เลี้ยงลูกเอง อาจเกิดจากการกกลูก หรืออาหารที่แม่นกป้อนให้ขาดแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกลูกนกเปราะ - ลูกนกวัยหัดบินและเริ่มแทะอาหารเอง
ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น แคลเซียมไม่เพียงพอ - นกวัยรุ่นและการใส่ห่วงขา
เป็นวัยที่พบปัญหาขาหักมากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อห่วงขาติดสิ่งของ หรือกระชากคอนแรง - นกโต
มักเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น กระแทกแรง หรือกระชากขาเองจากความตกใจ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ลดการเคลื่อนไหวขาที่หัก
ใช้อุปกรณ์แข็งเช่น ก้านสำลี หลอดดูด หรือไม้ไอติม ดามขาไว้ด้วยเทปพันแผล - จำกัดพื้นที่เคลื่อนไหว
ใส่นกในกล่องขนาดเล็ก บุด้วยผ้านุ่ม ป้องกันการกระแทกเพิ่มเติม - รีบนำส่งสัตวแพทย์
การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของนก ตำแหน่งที่หัก และเวลาที่ผ่านไป
แนวทางการรักษาตามขนาดตัวนก
- นกขนาดเล็ก (น้ำหนักต่ำกว่า 100 กรัม เช่น ฟอพัส, ซันคอร์นัว)
ใช้เฝือกเป็นหลัก การผ่าตัดมีความเสี่ยงเพราะการวางยาสลบยังจำกัด - นกขนาดกลาง (100–300 กรัม เช่น ค็อกคาเทล, โรเซล่า)
หากกระดูกหักตำแหน่งสำคัญ อาจต้องผ่าตัดร่วมด้วย - นกขนาดใหญ่ (มากกว่า 300 กรัม เช่น มาคอว์, แอฟริกันเกรย์)
นิยมผ่าตัด ใช้ external fixator หรือแผ่นดามกระดูก Titanium เพื่อรองรับน้ำหนัก
การรักษาที่ Animal Space Hospital
- ใช้ยาสลบ Sevoflurane ที่ปลอดภัยสำหรับสัตว์เล็ก
- ใช้วัสดุดามกระดูกคุณภาพสูง เช่น Titanium จากเกาหลี
- ผ่าตัดในห้องปลอดเชื้อ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อ
สรุป
หากนกมีอาการลงน้ำหนักขาไม่ได้ เดินผิดปกติ หรือบิดผิดรูป ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยเร็ว
การรักษาที่รวดเร็วจะช่วยเพิ่มโอกาสให้นกกลับมาเดินได้ปกติ
#หน่วยศัลยกรรมสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
#ให้เราเป็นคำตอบของทุกการรักษา