แอฟริกัน เกรย์ เป็นนกที่มีอัตรการหักของขาเยอะที่สุด

แอฟริกัน เกรย์ เป็นนกที่มีอัตรการหักของขาเยอะที่สุด โดยล่าสุด 10 ตัวที่ซ่อมไป เป็นสายพันธุ์นี้ถึง 9 ตัว โดยตำแหน่งที่หักบ่อยที่สุดก็เป็นแหน่งกระดูกที่ทีชื่อว่า Tibiotarsus และปัญหาของการหักก็คืออุบัติเหตุ นกตกใจ กระชากขา แล้วติดห่วง🦴


        



ช่วงอายุที่เจอได้บ่อยสุดๆ ก็คือน้อยกว่า 1 ปี🐥 อาจจะด้วยกระดูกยังบาง และ/หรือ ร่วมกับสายพันธุ์นี้ มีโอกาสที่จะขาดแคลเซียมสูงกว่า สายพันธุ์อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยโน้มนำ ได้การรักษา Best choice✨ ก็คือการผ่าตัดซ่อมแซม โดยการใช้ External fixation หรือ การทำ Tie-in ร่วมด้วย🔩หากเป็นนกเด็ก กระดูกจะใช้เวลาเชื่อมกันประมาณ 1 เดือน หากไม่มี complication อื่นๆ.. .
การผ่าตัดหากได้ผ่าเร็วที่สุดจะซ่อมง่ายมาก แต่หากเกิน 1 อาทิตย์ขึ้นไป ก็จะเริ่มยากเนื่องจากอาจจะมีการซ่อมแซมตัวเอง และ เริ่มมีกระบวน Calcification จนอาจจะเริ่มเกิด Callus หรือการพอกของกระดูกแล้ว🦾
การวางยาสลบในนก😴 ส่วนใหญ่แล้วโดยส่วนตัวมักจะสอดท่อช่วยหายใจเสมอเนื่องจากการผ่าตัดมักใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ซึ่งนกมีโอกาสที่จะหยุดหายใจระหว่างทำ การสอดท่อและต่อ Capnometer(อุปกรณ์วัดระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจ) ทำให้เรา Monitor การหายใจได้ดีกว่าการที่ไม่สอดท่อ แต่สุดท้ายขึ้นกับ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด บางท่านอาจจะเลือกยาฉีด +/- แก๊สลบ ซึ่งทุกอย่างเป็นศิลปะของการรักษา💉
ปล.หลังผ่าก็ยืนโชว์เจ้าของได้เลย.. เห็นนกยืนได้ก็ชื่นใจจริงๆ ^^💓