เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมบางทีกระต่ายของเราที่ทั้งยังสาวยังเวอร์จิ้น หรือเลี้ยงแบบไข่ในหินไม่เคยเจอชายหนุ่มใดๆ จู่ๆก็คาบหญ้ามาทำรังอย่างขยันขันแข็ง🌱 เท่านั้นยังไม่พอ ดึงขนตัวเองเอามาปูด้วยยยย และที่สำคัญอารมณ์ของคุณเธอจะเหวี่ยงเป็นพิเศษ ดุขึ้น กัด เก่ง แต่อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ เป็นสักพักก็หายไป แบบนี้เรียกว่าเป็นโรคหรือความผิดปกติอะไรรึเปล่า?😱
อาการที่คล้ายกับคนท้องแบบนี้ ทั้งที่ยังไม่เคยผสมพันธุ์ เราเรียกกันย่อๆว่า “ท้องเทียม (Pseudopregnancy)” ซึ่งสามารถเกิดได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายประเภท รวมไปถึงกระต่ายด้วยเช่นกัน🤰🏼💓
ภาวะท้องเทียมเกิดจากอะไร?
ภาวะท้องเทียมเกิดจากการที่หลังจากที่กระต่ายเข้าสู่ภาวะการเป็นสัดและถูกกระตุ้นให้ตกไข่จากการผสมเทียม หรือโดนขึ้นจากตัวเมียอีกตัวบ่อยๆ จนเนื้อเยื่อภายในรังไข่(Corpus luteum) คงอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน เกิดการผลิตฮอร์โมนที่มีอิทธิพลในการตั้งครรภ์(Progesterone) ผิดปกติตามมา🧬 ซึ่งด้วยอิทธิของฮอร์โมนดังกล่าว สัตว์จะแสดงอาการเหมือนเวลาตั้งท้อง เช่น การทำรัง มีน้ำนมออกมาจากเต้านมหรือเต้านมขยายขนาด ขึ้น การหวงเขต หวงลูกนั่นเอง👩🏼🍼😵💫
ภาวะท้องเทียมอันตรายหรือไม่?
ภาวะนี้โดยทั่วไปจะแสดงอาการอยู่ที่ประมาณสองสัปดาห์(15-18 วัน) แล้วจะหายไป แต่อาจส่งผลกระทบให้เกิดโรคทางระบบสืบพันธุ์ตามมา🤕 เช่น มดลูกอักเสบ เต้านมอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นการทำหมันในกระต่ายจึง สามารถช่วยลดการเกิดภาวะท้องเทียมนี้ได้ค่ะ🩺
ด้วยความปรารถนาดี
จาก หมอออม แอนิมอลสเปซ💚