การตรวจสุขภาพ
คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย เคยสงสัยไหมครับ ว่าทำไม…?
- เจ้านกที่เลี้ยงไว้ มันชอบยืนอยู่ที่พื้นกรง แล้วมาวันนึงก็ตายไปอย่างอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- เจ้าหนูแกสบี้จู่ๆก็หายใจดังเป็นน้ำเดือด ไม่กินอาหาร นอนซมเป็นผัก
- เจ้างูที่เลี้ยงไว้จู่ๆก็ชูคออยากเล่นด้วย หรือก็จู่ๆก็มีแผลตามตัว เกล็ดตั้ง มีจ้ำเลือดทั่วตัว แล้วก็ตายไปซะเฉยๆ
- เจ้าเต่าซูคาต้าผู้โปรดปรานผักบุ้ง กวางตุ้ง ใบหม่อน จู่ๆก็ถ่ายไม่ออก แถมเบ่งจนไส้ปลิ้น
- เจ้ากระต่ายที่เลี้ยงไว้ในห้องวันดีคืนดีก็นอนทับฉี่ตัวเองซะอย่างนั้น
- เจ้าชินชิลล่าที่กินเก่ง อึเยอะ แต่อยู่มาวันนึงก็อึนิ่ม แล้วก็มีอะไรไม่รู้แดงๆ โผล่ออกมาจากก้น
- เจ้าเม่นแคระที่เลี้ยงมานาน รักการกินเป็นชีวิตจิตใจ จู่ๆก็ไม่ยอมกินอาหารแข็งๆเลย
- เจ้าชูการ์ไกลเดอร์ตัวอ้วนจอมขี้เกียจที่เอาแต่กินแล้วก็นอนในบ้าน จู่ๆก็ผอมลง ตัวเหลือง อ่อนแรง นอนแน่นิ่งไป
- แล้วทำไมไอต้าวน่ารักพวกนี้ ถึงชอบป่วยกันในวันที่เราไปเที่ยว/งานยุ่ง/ไม่มีเวลา ตลอดเลย (อันนี้หมอก็ไม่ทราบค้าบบบ 55555)
แต่รู้ไหมครับว่าการพาเด็กๆเหล่านี้มาตรวจสุขภาพเป็นประจำ สามารถตอบคำถามและช่วยป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้ (ยกเว้นข้อสุดท้ายอ่ะนะ) อ่ะ ยังไง ไปดูกัน
การตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง คุณหมอต้องทำอะไร ยังไงบ้าง ?
- ตรวจร่างกายเบื้องต้น (Physical Examination) ตั้งแต่หัวถึงหาง ดูกันตั้งแต่
- ช่องท้อง - ดูอาการปวดเกร็งช่องท้อง
- ต่อมน้ำเหลือง - ถ้าโตอาจบ่งชี้ถึงการอักเสบ/ติดเชื้อบริเวณนั้นๆได้
- ดึงผิวหนังหนังเพื่อเช็คอาการขาดน้ำ
- เคาะท้องเพื่อฟังเสียงแก๊สในกระเพาะอาหาร
- สภาพสัตว์ (General appearance) เช่น การมีสติรับรู้ (Consciousness) ลักษณะและรูปแบบการหายใจ (Breathing pattern) และให้คะแนนความเจ็บปวด (Pain Scoring) เพื่อประเมินเบื้องต้นว่าเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินหรือไม่
- น้ำหนักตัว (Body weight) และคะแนนร่างกาย (Body Condition Scoring) - เพื่อดูว่าสัตว์เลี้ยง อ้วนหรือผอมเกินไปหรือไม่
- ตรวจดู ตา หู จมูก ผิวหนังและเส้นขน (Inspect the Overall Body Condition) รวมถึงสีของเยื่อเมือก (Mucous membrane)
- ฟังเสียงปอด เสียงหัวใจ การเคลื่อนตัวของทางเดินอาหาร (Ausculation) โดยใช้หูฟัง (กรุณาอย่าเพิ่งชวนคุณหมอคุยในช่วงนี้นะครับเพราะหมอจะไม่ได้ยิน ฮ่าๆ)
- คลำตรวจตามร่างกาย (Palpation)
- ตรวจร่างกายแยกตามระบบที่มีปัญหาอย่างละเอียดโดยใช้เครื่องมือและอุปรณ์เพิ่มเติม เช่น
- ส่องตรวจในช่องปากและฟัน
- ส่องตรวจในช่องหู (Otoscopic examination)
- ส่องตรวจตา (Ophthalmoscopic examination)
- ตรวจระบบประสาท (Neurologic examination)
- ตรวจระบบสืบพันธุ์ (Reproductive examination)
- ส่งตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (บางหัตถการอาจจะต้องมีการวางยาซึมหรือยาสลบ เพื่อให้เด็กๆไม่เครียดและให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด)
- ค่าความสมบูรณ์เม็ดเลือด (Complete Blood Count) เช่น เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด
- ค่าเคมีในเลือด เช่น ค่าตับ, ค่าไต, โปรตีน, น้ำตาล, ไขมัน, เกลือแร่ ฯลฯ (Blood chemistry)
- ตรวจหาพยาธิในเม็ดเลือด (ฺBlood parasite)
- X-ray; เพื่อดูช่องอก, กระดูกและข้อต่อ, บางส่วนของทางเดินอาหาร
- Fluoroscopy; เพื่อดูการบีบตัวของหัวใจและหลอดเลือด, ทางเดินอาหาร,
- Ultrasound (U/S); เพื่อดูเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) เช่น ตับ, ถุงน้ำดี, ตับอ่อน, ม้าม, ไต, ต่อมหมวกไต, ทางเดินอาหาร, กระเพาะปัสสาวะ, มดลูก, รังไข่, ลูกตา, ก้อนเนื้อต่างๆ, หัวใจ (Echocardiogram)
- Computerized Tomography (CT-scan); สามารถดูได้เกือบทุกระบบ โดยเฉพาะโพรงจมูก-ช่องอก, กระดูกและข้อต่อ (ในส่วนของเนื้อเยื่ออ่อนอาจจะต้องมีการฉีดสารทึบรังสีเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม)
- Magnetic Resonance Imaging (MRI); สามารถดูได้เกือบทุกระบบโดยเฉพาะสมอง ไขสันหลัง, ลูกตา, ช่องหู, โพรงจมูก, ข้อต่อ, เส้นเอ็น, กล้ามเนื้อ, เนื้อเยื่ออ่อนในช่องอกและช่องท้อง, ต่อมน้ำเหลือง, ก้อนฝี, ก้อนมะเร็ง ฯลฯ
- ตรวจเลือด
- ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
- ตรวจอุุจาระ (Fecal examination)
- ตรวจเซลล์ (Cytology) เช่น ตัวอย่างเซลล์จากผิวหนัง, ก้อนเนื้อ, ระบบสืบพันธุ์
- ตรวจวินิจฉัยทางภาพรังสี (Radiology and Diagnostic Imaging)