ฝ่าเท้าอักเสบในกระต่าย ภัยเงียบที่ผู้ปกครองควรรู้

สวัสดีครับแฟนเพจโรคพยาบาลสัตว์ animal space ทุกๆคนสบายดีกันนอยู่มั๊ยครับ

วันนี้แอดมินมีข้อมูลดีๆมาบอกต่อเพื่อให้แม่ๆกระต่ายทั้งรายเก่า รายใหม่ได้เข้าใจกับโรคยอดฮิตโรคหนึ่งในน้องกระต่ายนั้นก็คือโรคฝ่าเท้าอักเสบ (pododermatitis หรือ sore hocks) นั่นเอง

ก่อนอื่นแอดต้องขอบอกเลยว่า โรคฝ่าเท้าอักเสบเป็นโรคที่ส่งผลให้น้องกระต่ายเกิดความเจ็บปวดอย่างมาก ทั้งทำให้เกิดแผลที่ฝ่าเท้า น้องบางตัวอาจพบเลือดไหลจนทำให้เกิดภาวะเลือดจางได้ด้วย นอกจากนี้ บางรายยังพบภาวะติดเชื้อจากบาดแผล จนบางครั้งการติดเชื้อนั้นลุกลามเข้าสู่กระดูกจนทำให้ น้องกระต่ายต้องสูญเสียขานั้นไป ในกรณีร้ายแรงอาจจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้จากการติดเชื้อในกระแสเลือด


โหหห ฟังมาขนาดนี้แล้วเหล่าแม่คงกังวลมากๆแล้วแหละว่าลูกๆของเราจะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า และเราจะป้องกันและรักษาโรคนี้อย่างไร วันนี้แอดมีวิธีสังเกตุง่าย วิธีการป้องกันและการรักษามาบอกกันด้วย พร้อมแล้วก็ไปกันเลย  


สำหรับปัจจัยหลักๆทีส่งผลให้เกิดโรคนี้ก็คือ แรงที่กดลงบนฝ่าเท้านั้นเอง 

โดยปกติแล้วน้องกระต่ายจะเป็นสัตว์ที่ไม่มี food pad หรือไขมันใต้ฝ่าเท้า ที่ใช้รองรับน้ำหนักเหมือนในสุนัขหรือแมว แต่จะมีขนปกคลุมบริเวณฝ่าเท้าแทน ดังนั้นกรณีของน้องกระต่ายพันธุ์ REX จึงเป็นกระต่ายที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฝ่าเท้าอักเสบมากที่สุด เนื่องจากมีขนที่ฝ่าเท้าบางมากๆเมื่อเทียบกับเพื่อนสายพันธุ์อื่นนั้นเอง  นอกจากนี้ในเรื่องการการขับถ่าย ความสะอาดก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญครับ หากเราปล่อยให้เท้าของลูกๆสกปรก มีการทับถมของอึฉี่ที่ฝ่าเท้า ก็จะให้ขนที่ฝ่าเท้าบางลง รวมถึงเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบอีกด้วย 

นอกจากเรื่องขนที่ฝ่าเท้าแล้ว ความเหมาะสมของฟื้นกรง ขนาดของกรง ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน โดยพบว่ากรงที่มีลักษณะเป็นซี่ลวด พื้นผิวเรียบและเเข็งจะทำให้มีแรงกรระทำต่อฝ่าเท้าอันบอบบางของน้องกระต่ายมากขึ้น รวมถึงกรงที่ขนาดเล็กเกินไปทำให้น้องต้องยืนในท่าเดิมตลอดเวลาก็จะเพิ่มแรงกดที่เท้าได้เหมมือนกัน เเม่ๆที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานทั้งวันน่าจะเข้าใจความรู้สึกนี้ใช่มั๊ยละครับ 


เรื่องของอายุ น้ำหนักและโรคคประจำตัวก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญเช่นกัน เช่น น้องๆที่อุดมสมบูรณ์เกินไปจะให้น้ำหนักตัวกดไปที่ฝ่าเท้ามากขึ้น หรือคุรปู่คุณย่ากระต่ายที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่หรือมีโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังที่ลดการเคลื่อนที่ลดลงก็จะทำให้เกิดแรงกดที่ผ่าเท้านานขึ้นด้วยครับ 


แล้วเราจะสังเกตอาการลูกๆเราได้อย่างไรนะ

โดยในการแบ่งระดับของโรคฝ่าเท้าอักเสบนั้นมีหลากหลายแบบมากๆ แต่ในวันนี้แอดขอนำเสนอการแบ่งระดับออกเป็น 6 ระดับดังนี้ครับ 



grade 1

เป็นภาวะปกติ  ไม่มีรอยโรค ขนขึ้นปกคลุมฝ่าเท้าทั้งหมด

grade 2 

ขนที่ฝ่าเท้าบางลง ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าสัมผัสกับพื้นโดยตรง และเริ่มเป็นสีแดงอักเสบ

grade 3

เกิดผิวหนังแแดงอักเสบเป็นวงบริเวณส้นเท้าตำแหน่งที่รับแรงกดจากปุ่มกระดูก แต่ยังไม่พบการติดเชื้อหรือมีเลือดออก

Grade 4

เกิดเป็นผิวหนังอักเสบเป็นบริเวณกว้างตามแนวฝ่าเท้าและมีสะเก็ดขึ้นรอบบริเวณที่อักเสบ

grade 5 

เกิดการอักเสบทั่วทั้งฝ่าเท้า เกิดแผลหลุม เกิดการติดเชื้อที่บริเวณแผล 


Grade 6

เป็นระยะสุดท้ายของการเกิดเท้าอักเสบ โดยเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงทั่วทั้งฝ่าเท้า เกิดก้อนฝีหนอง และอาจมีการติดเชื้อลุกลามเข้าสู้กระดูกได้ 


ในส่วนของการป้องกันและการรักษา แอดมีคีย์เวิร์ดง่ายๆนั่นก็คือ PODO  ซึ่งประกอบด้วย


pressure control 
เนื่องจากสาเหตุหลักๆในการเกิดฝ่าเท้าอักเสบเกิดจากการที่มีแรงกดบริฝ่าเท้ามากเกินได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ช่วยบรรเทาอาการ คือการลดแรงที่กระทำบริเวณฝ่าเท้า เช่น หรือการพันเท้าหรือการใส่ถุงเท้าให้กับน้อองกระต่ายเพื่อลดเเรงกด

Optimal bedding 
ในช่วงแรกของการเกิดฝ่าเท้าอักเสบหรือการป้องกันการเกิดฝ่าเท้าอักเสบ แอดขอเเนะนำเรื่อการปรับพื้นที่เลี้ยงของน้องๆโดย การเลือกพื้นกรงที่มีความเหมาะสม สามารถกระจายการลงน้ำหนักได้ทั้งฝ่าเท้า ไม่ใช้พื้นกรงที่เป็นซี่ลวดหรือพื้นที่มีความเรียบและแข็งเช่นกระเบื้อง อาจใช้ผ้าปูบริเณพื้นกรงให้นุ่มขึ้นเพื่อลดแรงที่กระทำบริเวณฝ่าเท้า

Decrease inflammation 
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ภาวะฝ่าเท้าอักเสบ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดในกระต่ายได้มาก เพราะฉะนั้น ในรายที่กระต่ายไม่สามารถลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้าได้ตามปกติ นอกจากการปรับพื้นให้นุ่มขึ้นแล้วคุณหมอยังต้องให้ยาแก้ปวดลดอักเสบเพื่อให้น้องๆสบายตัวขึ้นอีกด้วย

Observe infection 
ภาวะฝ่าเท้าอักเสบที่อยู่ในระดับสูงๆมักพบการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ดังนั้นอาจมีการใช้ ยาปฏิชีวนะ ในรูปแบบเฉพาะที หรือรูปแบบกินเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อนั้นๆร่วมด้วย 
นอกจากการทานยาแล้วในกรณีที่มีการลุกลามเข้าสู่กระดูกคุณหมออาจจะพิจารณาทำการฝ่าตัดเพื่อลดการแพร่กระจายของตัวเชื้อไปตำแหน่งอื่นๆ หรือแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด

เป็นอย่างไรกันบางละครับสำหรับข้อมูลเรื่องฝ่าเท้าอักเสบที่แอดไปแอบกระสิบถามคุณหมอมาให้ในวันนี้ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเหล่าแม่ๆและน้ออองกระต่ายทุกๆคนนะครับ ไว้โอกาสหน้าแอแดจะไปแสวงหาข้อมูลดีๆแบบนี้มาเล่าในทุกคนฟังกันอีกนะครับ สำหรับวันนี้แอดต้องของตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ