ภาวะท้องอืดในกระต่าย

ภาวะท้องอืดในกระต่าย 

ภาวะท้องอืดหรือโรคท้องอืดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกระต่ายทุกเพศ ทุกวัย โดยคำว่าท้องอืดหมายถึงสภาวะที่มีการสะสมของแก๊สในทางเดินอาหารที่มากกว่าปกติ เพื่อให้เข้าใจภสะวท้องอืดในกระต่ายได้ดีขึ้น อาจจะต้องพูดถึงความพิเศษของระบบทางเดินอาหารในกระต่ายก่อน 


โดนกระต่ายเป็นสัตว์ในกลุ่ม lagomorpha ซึ่งในการย่อยอาหารและการสร้างพลังงานจะอาศัยการหมักย่อยที่ลำไส้ส่วนท้าย (cecum) โดยอาศัยการทำงานของ bacteria ที่ดีในการหมักและสร้างพลังงาน ดังนั้นหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ส่งผลกระทบกับเชื้อ bacteria ในทางเดินอาหารดังกล่าว ก็มักจะส่งผลให้เกิดภาวะท้องอืดตามได้ 


รวมถึงโครงสร้างของหูรูดกระเพาะอาหารด้านบน (cardiac sphincter) ที่มีความแข็งแรง ทำให้กระต่ายไม่สามารถที่จะเรอหรืออาเจียนได้ ดังนั้นในการขับแก๊สที่เกิดขึ้นจึงต้องอาศัยการบีบตัวของทางเดินอาหารในการขับแก๊สออกจากร่างกายผ่านทางทวารนหนัก ดังนั้นการบีบตัวของทางเดินอาหารลดลงจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดในการต่ายได้


โดยสาเหตุที่สามารถส่งผลกระทบต่อการหมักและการบีบตัวของทางเดินอาหารมีได้หลากหลายสาเหตุและบ่อยครั้งที่ในการวินิจฉัยไม่สามารถที่จะระบุสามารถดังกล่าวได้ชัด ทางการสัตวแพทย์จึงมีการนิยามศัพย์อีกนึงคำเพื่อให้มีความเข้าใจที่จตรงกันนั้นคือ  “rabbit gastrointerstinal syndrome” หรือ “RGIS” ซึ่งหมายถึงกลุ่มอาหารที่ทำให้ลำไส้ของกระต่ายมีการเคลื่อนที่ช้าลง


สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้บ่อยได้แก่

  1. การติดเชื้อในทางเดินอาหารเช่น การติดเชื้อบิด(coccidia) การติดเชื้อ bacteria ก่อโรคเช่น E.coli, clostridium หรือแม้แต่การเสียสมดุลของ bacteria ในทางเดินอาหาร
  2. การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารที่มีเส้นใย (fiber) น้อยเกินไป การกินอาหารที่แป้งและน้ำตาลสูงเช่น ผลไม้ หรืออาหารเม็ดคุณภาพต่ำ
  3. ภาวะเครียดซึงปัยจัยที่กระตุ้นความเครียดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น เครียดจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด เครียดจากความแออัด เครียดจากเสียงดัง หรือแม้แต่ความเครียดจากการที่เจ้าของไม่มีเวลาให้
  4. ความเจ็บปวด เช่น การเกิดบาดแผล กระต่ายที่มีปัญหาเรื่องของฟันที่ยาวหรือฝีรากฟัน หรือแม้แต่ภาวะตับบิด (hepatic lobe torsion)
  5. ภาวะท้องอืดที่เกิดจากความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่นภาวะโรคภาวะโรคตับ โรคไต หรือโรคทางระบบประสาทโดยเฉพาะบรเวณกระดูกสันหลัง หรือแม้แต่การอุดตันในทางเดินอาหาร 

ในการวินิจฉัยสัตวแพทย์จะเริ่มการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ประวัติการเลี้ยงดู ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวลล้อม จำนวนที่เลี้ยงต่อกรง ลักษณะหรือพฤติกรรมการให้อาหาร 

การตรวจอุจจาระ เพื่อดูการติดเชื้อ bacteria หรือภาวะเสียสมดุลของทางเดินอาหาร

การ x-ray เพื่อยืนยันและประเมินความรุนแรงของภาวะท้องอืด โดยทั่วความรุนแรงจะเเบ่งตามตำแหน่งและปริมาณที่เกิดขึ้นในทางเดินอาหาร โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งมีความสำคัญต่อแนวทางการรักษา หรือการพิจารณาการทำ x-ray series เพื่อประเมินภาวะอุดตันในทางเดินอาหาร

การตรวจเลือดเพื่อประเมินโรคแฝงต่างๆเช่น ภาวะโรคตับ โรคไต รวมถึงภาวะตับบิด 


ในการรักษานั้นจะมุ่งเน้นการรักษที่ต้นเหตุ เช่น หากเกิดจากการติดเชื้อ จะมีการให้ปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามเป้าหมายรักษาในการรักษาคือ

  1. ควบคุมความเจ็บปวดที่เกดขึ้นจากภาวะท้องอืด โดยการเลือกใช้ยาขึ้นอยู่กับระดับความเจ็บปวดที่สัตว์แสดง เช่น หากสัตว์แสดงความเจ็บปวดเล็กน้อย อาจมีการใช้ยาลดปวดเพียง 1 กลุ่ม แต่หากสัตว์แสดงความเจ็บปวดที่รุนแรงอาจพิจารณาการให้ยาลดปวดหลายกลุ่มร่วมกัน (multimodal analgesia) 
  2. การระบายแก๊สที่สะสมในทางเดินอาหารออกจากร่างกาย โดยทั่วไปจะมีการใช้ยาที่ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร โดยพิจารณาการตำแหน่งของแก๊สที่ตรวจพบหรือปริมาณของแก๊สในทางเดินอาหารที่ปรากฏในภาพ x-ray 

ในภาวะฉุกเฉิน หรือ ภาวะที่มีแก๊สจำนวนมากสะสมในกระเพาะ อาจพิจารณาการวางยาสลบเพื่อสอดท่อระบบแก๊ส เพื่อช่วยลดความตึงตัวของผนังกระเพาะและลดความเจ็บปวด 


ในกรณีที่ภาวะท้อองอืดนั้นเกิดจากโรคที่ไม่สามารถรักษาทางยาได้ เช่น เกิดจากการอุดตันในทางเดินอาหาร หรือเกิดจากภาวะตับบิด  การรักษาจำเป็นที่จำต้องทำการผ่าตัดแก้ไข


การป้องกันหรือการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะท้องอืด

อาจทำได้โดยการให้อาหารที่มีคุณภาพมีเส้นใยเพียงพอ ลดความเครียดที่เกิดขึ้น ดูแลรักษาความสะอาดของน้ำและอาหาร เก็บทำความสะอาดอุจจาระและปัสสาวะอย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง จำกัดปริมาณของขนมที่ให้ในแต่ละวัน 


การสังเกตอาการเบื้องต้น 

กระต่ายที่มีภาวะท้องอืด หรือการบีบตัวของทางเดินอาหารช้าลงกระต่ายมักจะมีอุจจาระที่น้อยลง เม็ดขนาดเล็กลงหรือมีขนาดของอุจจาระที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่พบอุจจาระเลย บางตัวอาจแสดงอาการปวดท้อง นั่งกกไข่ ตาหรี่ หรือหากเจ็บปวดมากกระต่ายอาจจะมีพฤติกรรมการรกัดฟัน


การดูแลเบื้องต้นอาจจะทำป้อนหารที่มีเส้นใยสูง หรือการปล่อยให้วิ่งหรือให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นระบบทางเดินอาหารบีบตัว 

อย่างไรก็ตามภาวะท้องอืดอาจเป็นความเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถหายได้เอง หรืออาจรุนแรงได้จนถึงแก่ชีวิต ดังนั้นหากการตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำและการตรวจร่างกายโดยละเอียดจากสัตวแพทย์จึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น