กระต่าย (Rabbit)
ยาหยดหลังดังภาพ ห้ามใช้ในกระต่ายนะครับ
แต่การรักษาด้วยตัวเองนั้น เจ้าของควรจะ้องมีความระมัดระวัง ถึงการเลือกใช้ยาด้วยนะครับ ยาที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด คือ Fipronil ซึ่งบ้านเรามีหลายยี่ห้อ จะไม่ขอพูดชื่อ ยี่ห้อนะครับ เพราะตายเหมือนกันหมด !!! และ ยาขวดแก้ว สีชา ซึ่ง หนักกว่าอีก เพราะเป็นยาเถื่อน !!! ไม่มีแม้แต่ชื่อสารออกฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบัน มีออกมามากมายหลายแบบ ราคา 50-100 บาท ซื้อ เยอะ แถมอีกต่างหาก ขนาดในสุนัข ยาเถื่อนตัว้ ยังทำให้สุนัข ตายมาแล้วไม่รู้กี่ตัว กระต่ายน้อย ซึ่งแสนจะบอบบางจะไปเหลือเหรอครับ? ซึ่งตัวยาออกฤทธิ์ เหล่านี้ สามารถทำอันตรายกับกระต่ายได้ คือ กระต่ายจะมีการ ดังต่อไปนี้
เมื่อกระต่ายได้รับยาไปแล้ว จะมีอาการ ซึม เบื่อ อาหาร และ หลังจากนั้น อาจจะ 1-3 วัน หลังได้รับยา กระต่าย จะมีอาการ ชัก และ จะ ชัก รุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ และ สุดท้าย ก็จะตายลง อย่าง ทรมาณ!!!
การรักษา ที่พอจะทำได้เอง เมื่อได้ทำการหยอดยาบเวณหลังไปแล้ว ในตำแหน่งที่กระต่ายเลียไม่ถึง นั่นคือ บริเวณหลังคอ จะทำให้ยาถูกจำกัดอยู่บริเวณนั้น โดยจะค่อยๆ ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังบริเวณนั้น แต่ ถ้าหยอด ผิดตำแหน่ง และกระต่ายเลีย กินเ้าไป หรือ อักตัวช่วยเลียก็จะยิ่งอันตราย มากขึ้นไปตามปริมาณยาที่ได้รับ หลักการรักษามี 3 อย่าง
1.ลดปริมาณการดูดซึม
2.เพิ่มการขับยาออก
3.ควบคุมอาการชัก และ รักษาตามอาการ
การลดปริมาณการดูดซึม สามารถทำได้โดยการทำการล้างบริเวณที่หยอดออกให้ได้มากที่สุด โดยการใช้แชมพูของลูกสุนัข หรือ แชมพูเด็ก ก็ได้เพื่อเอายาที่ยังคงเหลือ อยู่ออกให้ได้มากที่สุด และหลังจากล้างแล้ว ต้องเป่าตัวให้แห้ง และระวังกระต่ายจะอุณหภูมิร่างกายต่ำเกินไป ครับ
เพิ่มการขับออก วิธีคงต้องพึ่งสัตวแพทย์ครับ โดยวิธีที่ทำได้ก้คือ การให้สารน้ำ เช่นน้ำเกลือ ในช่องทางต่างๆ เช่นการให้เข้าเส้นเลือด การให้เข้าใต้ผิวหนัง หรือ แม้แต่การป้อนน้ำ ก็ช่วยได้เช่นกันครับ
การควบคุมการชัก นั่นหมายถึงระยะที่อันตรายที่สุดเพราะยาได้เข้าสู่กระแสเลือดในขนาดที่ทำให้กระต่ายชักได้ และ อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจะะต้องให้ยา ระงับอาการชัก ให้ ออกซิเจน และ ให้สารอาหาร ผ่านทาง สายยางในกรณี ไม่กินเลย แต่ถ้ายังกินอยู่ อาจจะใช้การป้อน อาหารกระต่ายป่วย เช่น คริติคอล แคร์ ครับ
การพยากรณ์ โรค ต้องบอกว่า เลวร้าย มากเชียวล่ะครับ ถ้าโชคดี หยอดไปไม่มาก ไม่ได้หยิด ทีเดียวหมด หลอด หรือ หมดขวด โอกาสรอดก้มีเยอะหน่อย เพราะตัวยาอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าหมด หลอด ก็ เหนื่อยหน่อยครับ แต่ถ้ายิ่งรู้อาการเร็ว พบสัตวแพทย์เร็ว ก็อาจจะเพิ่มโอกาสรอดได้ครับ
หวังว่าบทความนี้ คงช่วยกระต่ายได้ ไม่มาก็น้อย ช่วยกันส่งต่อให้กับผู้ที่เริ่มเลี้ยงกระต่าย ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ครับ
หมออ้อย