งูทวารร่วมปลิ้น (Cloacal prolapse)

How to deal with " Something protruding from the back end " in reptiles  จะทำยังไงดีเมื่อมีอะไรบางอย่างทะลักออกมาจากก้นของสัตว์เลื้อยคลาน ? เหตุเนื่องมาจากมีเคสงูบอลไพธอนมาด้วยปัญหาลำไส้ทะลักออกมาจากก้น ประ มาน 2-3 วัน ... ซักประวัติเพิ่มเติมพบว่างูตัวนี้อายุ 5 เดือน น้ำหนักประมาณ 120  กรัม กินอาหารได้ตามปกติ จู่ๆ ก็พบว่ามีลำไส้ทะลักออกมา เจ้าของเอาน้องใส่ กล่องพลาสติกที่มีทิชชู่ชุบน้ำรองเพื่อพามาที่โรงพยาบาลสัตว์เพราะกลัวลำไส้ที่ ออกมาจะแห้งและเกิดการฉีกขาดขณะที่งูเลื้อยไปมา 

ตรวจร่างกายภายนอกไม่พบความผิดปกติอะไรเป็นพิเศษ คลำช่องท้องไม่พบ ลักษณะของการอุดตัน ไม่พบก้อนอึและก้อนยูริค 

ประเมินสภาพของอวัยวะที่ออกมา มีลักษณะที่บวมน้ำค่อนข้างมาก ผนังบางส่วน ฉีกขาด แต่โชคดีที่อวัยวะยังดูไม่ได้เกิดเนื้อตายสักเท่าไหร่ หลังจากล้างทำความ สะอาดและตรวจดูอย่างละเอียดพบว่า อวัยวะที่ปลิ้นออกมานั้นมีลักษณะเป็นท่อ และพบรูเปิด 2 รู จึงสามารถระบุได้ว่าอวัยวะที่ปลิ้นออกมานั้น คือ ทวารร่วม (Cloaca) เราเรียกภาวะนี้ว่า " True cloacal prolapse "  

หลังจากนั้นก็ได้ทำการรักษาตามขั้นตอนที่เหมาะสมและหาสาเหตุกันต่อไป ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับภาวะลำไส้ปลิ้น การจัดการเบื้องต้นสำหรับเจ้าของสัตว์ และ Trick ในการรักษากันดีกว่าครับ 

ภาวะทวารร่วมทะลัก (Cloacal prolapse) หรือการที่เราเห็นอวัยวะสักอย่างหนึ่ง ทะลักออกมาจากรู้ก้น จัดเป็นหนึ่งในภาวะฉุกเฉินของสัตว์เลื้อยคลาน (True  reptile emergency) ซึ่งแปลว่าต้องรีบได้รับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปด้ เรามักจะพบภาวะนี้ในเต่าและกิ้งก่าได้มากกว่างู และไม่มีความแตกต่างของ อัตราการเกิดในเพศผู้และเพศเมีย 

แนวทางในการจัดการภาวะทวารร่วมทะลัก (Approach to the prolpase) STEP  BY STEP  

STEP 1 : 

ระบุให้ได้ว่าสิ่งที่ทะลักออกมานั้นคืออวัยวะอะไร (Identify exactly what is  prolapse) เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะ key ในการรักษาไม่ใช่ทำยังไงเพื่อให้มัน กลับเข้าไป แต่ต้องกลับเข้าไปให้ถูกตำแหน่งด้วย เพราะถึงเราจะสามารถยัดกลับ เข้าไปได้ ณ ตอนนี้ เดี๋ยวมันจะกลับมาทะลักใหม่อีกเหมือนเดิมแน่นอนถ้าตำแหน่ง มันไม่ถูกต้อง โดยอวัยวะหรือรูปแบบของการเกิด (Types of prolpase) ได้แก่ - ทหวารร่วม (Cloaca) เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด สังเกิดได้จากลักษณะของ การพบรูเปิดบนสิ่งที่ทะลักออกมา 

- กระเพาะปัสสาวะ (Bladder) ลักษณะเป็นถุงผนังบางๆ มีเส้นเลือดวิ่งบนผนังของ อวัยวะดังกล่าว 

- ลำไส้ (Colon) อวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อ บางครั้วอาจจะพบอึร่วมด้วย

- ท่อนำไข่ (Oviduct) อวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อเหมือนกับลำไส้ แต่สามารถแยก ออกจากกันได้โดยลายของผนัง โดยท่อนำไข่จะเป็นลักษณะ longitudinal  striation ซึ่งไม่พบในโครงสร้างของผนังลำไส้ 

- อวัยวะเพศผู้ (Hemipenes) อันนี้แยกง่ายที่สุดเพราะชัดเจนด้วยตัวของมันเอง อยู่แล้ว 

STEP 2 :  

พยายามหาสาเหตุของการเกิดให้ได้ (Find the causes) เพื่อวางแผนในการ รักษาที่ต้นเหตุต่อไป เหมือนเดิมนะครับ key ในการรักษาไม่ใช่การยัดกลับเพียง เท่านั้น เพราะเมื่อเรายัดกลับนั่นแปลว่าเรากำลังรักษาปลายเหตุ หากไม่ได้วินิจฉัย ถึงต้นเหตุและแก้ไข สุดท้ายสัตว์ก็กลับมามีปัญหาอีกเหมือนเดิม โดยสิ่งที่ทำได้ ง่ายๆเลยก็ คือ การซักประวัติที่แม่นยำและครบถ้วน การตรวจร่างกาย การตรวจอึ และ xray พวกนี้จัดเป็นการวินิจฉัยขั้นพื้นฐานหรือเป็น screening test ในสัตว์ เลื้อยคลานอยู่แล้วใช่ไหมละครับ อย่าลืมตรวจกันครับ 

ส่วนสาเหตุของการเกิดนั้น ได้แก่ 

  1. ภาวะใดก็ตามที่ทำให้เกิดอาการเบ่ง (Straining) เช่น

- ภาวะลำไส้อักเสบ (Enteritis) 

- ภาวะไข่ค้าง (Dystocia) 

- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Cystic calculi) 

- ภาวะท้องผูก (Constipation) 

- เนื้องอก (Neoplasia) 

- ภาวะลำไส้อุดอัน (GI obstruction) จาก พยาธิ สิ่งแปลกปลอม ฝี เป็นต้น 2. การบาดเจ็บจากการผสมพันธุ์ (Mating behavior)  

  1. ภาวะขาดแคลเซียม (Hypocalcemia)

เมื่อรู้สาเหตุแล้วให้วางแผนการรักษาต่อจากนี้ไปได้เลยครับ 

STEP 3 : 

ประเมินสภาพของอวัยวะเพื่อเลือกแนวทางการรักษา (Viable tissue evaluation)  ขั้นแรกให้เราทำความสะอาด (Cleaning & flushing) ให้ได้มากที่สุด ลดภาวะ บวมน้ (Reduce edema) โดยอาจจะใช้น้ำเย็นหรือสารละลาย hyperosmotic  ที่หาง่ายที่สุดก็น่าจะเป็นน้ำตาลนั่นแหละครับ หากล่องพลาสติกที่ไม่ต้องใหญ่มาก ใส่น้ำลงไป ใส่น้ำตาลลงไป แล้วก็ใส่สัตว์ลงไปแช่สัก 5-10 นาที โดยฤทธิ์ hyperosmotic ของสารละลายจะเข้าไปดึงน้ำจากเนื้อเยื่อเพื่อลดขนาดให้เล็กลง หลังจาก cleaning, flushing, reduce edema แล้ว ให้ประเมินสภาพของเนื้อเยื่อ ว่าพอจะไปต่อได้ไหม โดยหากพบว่าเนื้อเยื่อเกิดเนื้อตายไปหมดแล้ว พยากรณ์ โรคก็อาจจะเป็น poor to grave หรือ ถ้าเกิดเนื้อตายปานกลางยังพอไหวก็อาจ พิจารณาวางยาสลบเพื่อตัดแต่งเนื้อเยื่อ (Trimming) ก่อนยัดกลับ หรือ ถ้าเนื้อเยื่อ ดีมาก/มีเนื้อตายแค่บางส่วน อาจจะยัดกลับเข้าไปเลยก็ได้

สำหรับ trick ในการยัดกลับนะครับ อันนี้จะออกแนวให้ทุกคนระมัดระวังกันครับ - อย่างแรกคือถ้ามันใหญ่มากหรือสัตว์ดิ้นหรือเบ่งต้าน อย่าพยายามครับ วางยา สลบหรือยาซึมสักนิด จะทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก บ่อยครั้งที่เราพยายามฝืนยัด ด้วยแรง กลับทำให้อวัยวะเกิดการฉีกขาดหรือทะลุ เลือดสาดกระจายเต็มหน้า จอ ... จากเรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ครับ 

- ไม่ควรวัสดุที่แข็งเป็นตัวยัดกลับ แม้กระทั่ง cotton swab ก็ความเลือกใช้อันที่ เล็กที่สุดและให้ดันไปขอบครับ อย่าไปดันตรงเนื้อเยื่อโดยตรง เพราะ อวัยวะที่มี ผนังบางและบวมน้ำอยู่แล้วย่อมฉีกขาดง่ายครับ 

- หากเป็น cloacal หรือ colon ทะลักออกมา ให้พยายามหา lumen ของลำไส้ แล้วดันเข้าไปในรูนั้นครับ จะทำให้ reduction ได้ง่ายมากขึ้นเยอะ - เมื่อยัดกลับได้แล้วให้เอา syringe flush น้ำเกลือเข้าไปใน cloaca สักหน่อย ครับ เพื่อให้แรงดันน้ำเข้าไป expand อวัยวะต่างๆให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งที่ ปกติ 

- ในบางสถานการณ์ที่ พอยัดกลับเสร็จแล้วยังมีภาวะเบ่งออกมาเรื่อยๆ หรือคาด ว่าน่าจะกลับมาทะลักอีกแน่ๆ หรือ เกิดภาวะนี้มาแล้วหลายๆรอบ โดยที่หาสาเหตุม่ได้สักที อาจจะพิจารณาใช้เทคนิค Transcutaneous cloacopexy ได้เช่นกัน โอเค เมื่อเรายัดกลับเข้าไปได้แล้วก็เย็บเพื่อลดรูเปิดของก้นนิดนึงเพื่อเพื่อป้องกันม่ให้กลับมาทะลักอีก ในสัตว์เลื้อยคลานเราจะไม่เย็บ purse string suture กัน ครับ เราใช้ simple interrupted ธรรมดาเลย โดยในกิ้งก่าเราจะเย็บ ซ้าย-ขวา ของรูก้น แต่ในงูและเต่าเราจะเย็บ บน-ล่างของรูก้นครับ 

สุดท้ายสัตว์พูดไม่ได้และแสดงอาการไม่เก่งโดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน ภาวะนี้ถ้า มาเกิดขึ้นกับเราก็คงจะเจ็บไม่ใช่น้อย อย่าลืมยาลดปวดและยายดอักเสบกันนะ ครับ