เรื่องเล่าเคส ผ่าตัดชินชิลล่าลำไส้กลืนกัน

ชินชิล่าที่มีอาการท้องเสียเรื้อรัง หรือมีปัญหาติด flagellate protozoa มักมีอาการลำไส้กลืนกัน ไม่เป็นมากก็เป็นน้อย บางตัวโชคดีเป็นไม่มาก บางตัวโชคร้ายเป็นมากหน่อยต้องตัดต่อลำไส้ เนื่องจากลำไส้ขาดหรือเป็นเนื้อตาย 


ย้อนไปสัก 10 ปีก่อนการวินิจฉัยต่างๆก็ยังไม่ดีโอกาสรอดของสัตว์เลยไม่ได้สูงมาก ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยวินิจฉัยทันสมัยมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Ultrasound หรือ CT ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีหมอเฉพาะทางที่เก่งขึ้น ทำให้อัตรารอดสูงขึ้นแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับอาการและสภาพสัตว์รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาและวินิจฉัยด้วย 


สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการดูแลหลังผ่าตัด เพราะหลังผ่าตัดลำไส้ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยทีมสัตวแพทย์และพยาบาล ของ AnimalSpace ที่ดูแลน้องๆ ตลอด 24 ชั่วโมงจึงมั่นใจได้ว่าเด็กๆจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดจากเรา