การทำหมันในเต่าจำเป็นหรือไม่?

การทำหมันในสัตว์นั้นจำเป็นมั้ย ..คำตอบมีทั้งจำเป็น และไม่จำเป็น สำหรับสัตว์ที่จำเป็นต้องทำเลยแน่ๆ คือ กระต่ายเพศเมียที่มีโอกาสเป็นมะเร็งมดลูกสูงถึง 80% แล้วส่วนในเต่าล่ะ คำตอบคือ โดยปกติแล้วไม่จำเป็นยกเว้นเกิดภาวะไข่แดงค้างท้อง (Follocular stasis)

ภาวะไข่แดงค้างท้องในเต่า หรือภาวะ Follicular stasis นั้นเกิดจากการที่เต่าสร้างไข่แดง แต่ไข่แดงไม่สามารถตกไข่ แล้วกลายเป็นไข่ที่ปกติที่มีเปลือกได้ ดังนั้นไข่แดงที่สร้างขึ้นมาจึงค้างอยู่แบบนั้น ในบางกรณีอาจจะมีการดูดซึมกลับเข้าไปได้ตามธรรมชาติ แต่หากโชคร้ายถ้ามีการพัฒนาที่มากเกินไปจะไม่สามารถดูดซึมกลับเข้าไป และรอวันที่ไข่แดงจะผิดปกติ และเบียดอวัยวะภายในต่างๆ หรือแย่ไปกว่านั้นคือไข่แดงอาจจะแตก แล้วทำให้เกิดภาวะ ช่องท้องอักเสบซึ่งอันตรายต่อเต่ามาก โดยจะทำให้มีอาการซึม เบื่ออาหาร ไม่ตอบสนอง ซึ่งจะเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตกันเลยทีเดียว

การวินิจฉัยส่วนใหญ่แล้วเราสามารถวินิจฉัยได้จากการ X-ray, Ultrasound, หรือ CT Scan โดยความไวของการวินิจฉัยและความแม่นยำต้องยกให้ CT Scan และ Ultrasound แต่การ Ultrasound จะมีข้อจำกัดในการทำผ่านพื้นที่แคบๆ ตรงช่องหน้าขา หรือที่เรียกว่า Prefemo Window

การรักษา คือการผ่าตัดเพื่อนำไข่แดงออก หรือเรียกง่ายๆว่าการทำหมันนั่นเอง

สิ่งที่น่ากังวลคือ เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานอุณหภูมิร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม และ metabolism มีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ทำให้การวางยาสลบมีความซับซ้อน ต้องกระทำโดยสัตวแพทย์ผู้มีความชำนาญ กายวิภาคที่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างมากทำให้การผ่าตัดต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง และแผลที่ผ่าตัดหรือกระดองที่เปิดใช้เวลานานกว่าจะเชื่อมกันเป็นปกติ

แต่อุ่นใจได้ที่ Animal Space เรามีคุณหมอเฉพาะทางที่ทำการวางยาและผ่าตัดเต่ากันเป็นประจำอยู่แล้ว และเครื่องมือในการวินิจฉัยก็ครบถ้วน ทั้ง Ultrasound หรือ CT Scan

หากเต่าที่บ้านมีอาการซึมเบื่ออาหาร อย่าลืมนึกถึง โรคไข่แดงค้างท้องกันด้วยนะครับ

#exoticpetfriendlyhospital  #animalspace

#ศูนย์วินิจฉัยด้วยภาพ #โรงพยาบาลสัตว์เฉพาะทางสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ