โรคที่พบบ่อยเบี้ยดดราก้อน

โรคที่พบบ่อยเบี้ยดดราก้อน


เบี้ยดดราก้อนหรือมังกรเครา มีนิสัย เชื่อง น่ารัก ไม่ดุร้าย ชอบอยู่กับคน จึงเป็นกิ้งก่าที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยเป็นอย่างมาก การเลี้ยงเบี้ยดดราก้อน ผู้เลี้ยงควรมีความรู้เรื่องการดูแล และโดยเฉพาะการให้อาหารที่ถูก้องและเหมาะสม เพื่อให้เบี้ยดดราก้อนมีสุขภาพที่แข็งแรง


  1. โรคกระดูกบาง

เกิดจากการขาดแร่ธาตุแคลเซียม หรือขาดวิตามิน D3 ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เมื่อขาดแคลเซียมร่างกายจะหลั่งฮอร์โมพาราไทรอยด์ ซึ่งทมีผลสลายแคลเซียมที่กระดูกออกมาใช้ จึงส่งผลทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง โดยเฉพาะที่กระดูกกราม และหาง จะพบอาการขาบวม กระดูกผผิดรูป ชักเกร็ง อ่อนแรง ท้องผูก ไข่ค้าง เป็นต้น สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือด X-ray การรักษาทำได้โดยการให้แคลเซียม ซึ่งสามารถให้ได้ทั้งแบบฉีด หรือกิน ร่วมกับการให้รังสี UVB เพื่อเพิ่มวิตามิน D3 ในร่างกาย สามารถป้องกันได้ด้วยการเสริมแคลเซียมในอาหาร และตากแดดหรือเปิดหลอดไฟ UVB ซึ่งเบี้ยดดราก้อนต้องการรังสี UVB 3-6 ชั่วโมงต่อวัน

  1. โรคอ้วนและไขมันพอกตับ

มักเกิดจากการให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูงจนเกินไป หรือให้อาหารไม่เพียงพอ อาการที่จะพบ น้ำหนักลดลง ผอมลง อาเจียนหรือขย้อนอาหาร กินอาหารลดลง อึผิดปกติ เช่น ถ่ายเหลว สีผิดปกติ ยูเรตมีสีเขียว อ่อนแรง ช่องท้องขยายใหญ่ วินิจฉัยด้วยการตรวจเลือด X-ray และ Ultrasound หรือ CT scan ช่องท้อง รักษาทำได้ด้วยการให้น้ำเกลือ วิตามินบำรุง ป้อนอาหารเหลว วิธีการป้องกันทำได้ด้วยการให้อาหารอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป มีการออกกำลังหรือกิจกรรมให้เบียดราก้อนได้เคลื่อนไหว

  1. โรคฝีที่ผิวหนัง

ฝีในเบี้ยดดราก้อนมักมีแคปซูลห่อหุ้มและภายในบรรจุหนองที่มีลักษณข้นเหนียว มักพบบริเวณ หัว คอ ขา เท้า นิ้ว และหาง อาจะเกิดจากการขูดบาดเกิดแผลและมีการติดเชื้อแทรกซ้อน หรือเกิดจากการเลี้ยงในพื้นที่ชื้นหรือไม่สะอาดขนเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจนเกิดเป็นฝี ทำการวินิจฉัยได้ด้วยการเจาะเก็บตัวอย่างส่งเพาะเชื้อ

และรักษาได้ด้วยการกรีดเพื่อระบายหนอง หรือฝ่าตัดก้อนฝีออก สามารถป้องกันได้ด้วยการดูและความสะอาดบริเวณเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ หากมีแผลเกิดขึ้นให้รีบล้างทำความสะอาดและทายาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม


ควรพาเบี้ยดดราก้อนไปตรวจสุขภาพกับคุณหมอเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจร่างกาย และถ่ายพยาธิ หากตรวจพบว่าป่วยในระยะแรกเริ่ม จะใช้เวลารักษาไม่นาน และมักหายกลับมาปกติได้อย่างรวดเร็ว


โดย สพ.ญ.กัณธิตา ปวีณสกล(หมอลูกเกด)