" ภาวะคลอดยาก (Dystocia) " ในนก เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร และ ป้องกันอย่างไร ?

ภาวะคลอดยากเป็นโรคระบบสืบพันธุ์ในนกเพศเมียที่พบได้บ่อยและจัดเป็นภาวะวิกฤต (Emergency) ที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด

นกฟอพัสตัวนี้มาด้วยปัญหา ซึม พองขน กินอาหารได้บ้างเล็กน้อย เมื่อตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีก้อนแข็งอยู่บริเวณช่องลำตัวด้านท้าย มีภาวะหายใจลำบากเล็กน้อย เราสงสัยว่าน้องจะมีภาวะคลอดยาก จังหวะนั้นก็เหลือบตาไปดูอายุของน้อง 5 เดือน ! ย้ำ น้องอายุแค่ 5 เดือนเท่านั้น น้องก็ผลิตไข่ลม (Unfertilized egg) ได้แล้ว หลังจากที่ได้ให้ความร้อน oxygen ยาลดปวด และ ให้พักอยู่ในบริเวณที่สงบสักพักเพื่อให้หายเครียดและตื่นจากสิ่งแวดล้อมใหม่แล้ว จึงพิจารณา xray เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ภาพ xray บ่งชี้ว่ามีไข่ติดอยู่บริเวณช่องลำตัวด้านท้าย เบียดเชิงกรานทั้ง 2 ข้าง และขนาดของไข่เมื่อเทียบกับลำตัวนั้นยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยเมื่อดูจากรูป xray ว่าจะมีความเจ็บปวดเกิดขึ้นมากขนาดไหน โดยทั่วไปแล้วเราจะจัดว่าความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเป็นความเจ็บปวดระดับสูงที่จะทำให้นกสามารถช้อคจากความเจ็บปวดได้เลย เราจึงจัดว่าภาวะคลอดยากเป็นภาวะฉุกเฉินนั่นเอง

ส่วนวิธีในการรักษานั้นมีหลากหลายและขึ้นกับหลายปัจจัย ยกตัวอย่างในเคสนี้ขนาดของไข่ใหญ่เกินไป เราจึงพิจารณาเจาะเปลือกไข่และดูไข่ออกก่อนเพื่อให้เปลือกแฟ่บลง จากนั้นจึงค่อยๆเอาเปลือกไข่ออกมาก

เมื่อดูจากกระบวนการแล้วอาจจะดูเหมือนง่าย แค่จริงๆแล้วมีรายละเอียดที่ยิบย่อยมากๆ เราต้องประเมินสภาพสัตว์ ต้องคิดว่าจะต้องใช้วิธีอะไร การวางยาสลบนกที่ตัวเล็กมากและอยู่ในภาวะวิกฤต มือที่ต้องเบามากจริงๆ เคสนี้ก็รู้ว่ามีภาวะไข่ค้างก็กุมขมับแล้ว ...

ทีนี้เรามาดูสาเหตุ การรักษา และ แนวทางการป้องกันกันดีกว่า

ภาวะไข่ค้าง หมายถึง การใช้เวลาในการวางไข่ที่นานมากกว่าปกติ (Prolonged oviposition) หรือ ไม่สามารถนำไข่ออกมาจากท่อนำไข่ได้ (Failed expulsion of the egg from the oviduct) ซึ่งระยะเวลาที่ไข่อยู่ในท่อนำไข่จะแตกต่างกันไปในแต่ละสปีชี่ส์ ส่วนภาวะคลอดยาก (Dystocia) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของภาวะไข่ค้างซึ่งจะมีความรุนแรงมากกว่าเนื่องจากตัวไข่ได้ผ่านท่อนำไข่ลงมายังส่วนท้ายและเกิดภาวะอุดตันที่บริเวณทวารร่วม (Cloaca) ซึ่งอาจพบข้อแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น ทวารร่วมปลิ้น (Cloacl prolapse) ผ่าน Oviductal-cloacal orifice ออกมาได้ แม้ว่าภาวะไข่ค้างนั้นจะสามารถเกิดได้กับนกเพศเมียทุกตัว แต่เราพบว่าภาวะนี้มักจะเกิดในกลุ่มของนกแก้วขนาดเล็ก (Small psittacines) มากกว่า เช่น Cockatiels, Budegerigars และ Forpus รวมไปถึงนกในกลุ่ม Canaries และ Finches ด้วยเช่นกัน

สาเหตุการเกิดภาวะไข่ค้างและคลอดยาก

  1. ภาวะขาดแคลเซียมและวิตามินดี
  2. ภาวะอ้วน
  3. ไข่ผิดรูป หรือ ไข่มีขนาดใหญ่เกินไป
  4. มดลูกอักเสบ
  5. การวางไข่ที่มากเกินไป ทำให้เกิดภาวะมดลูกเฉื่อย (Uterine inertia)

เป็นต้น


แนวทางการรักษาภาวะฉุกเฉินของภาวะไข่ค้างและคลอดยาก (Emergency treatment of egg binding and dystocia)

สำหรับนกที่มีปัญหาไข่ค้าง (Egg binding) และอาการภายนอกไม่ได้ดูแย่มาก สามารถเริ่มต้นการรักษาโดย supportive treatment ก่อนได้ เช่น Heat supplement, fluids, nutritional support และอาจพิจารณาให้ Calcium supplement (100mg/kg) SC, PO ได้เลย เนื่องจากภาวะ malnutrition และ hypocalcemia เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะไข่ค้างที่พบได้บ่อยมาก นอกจากนี้ควรจัดการในส่วนของสิ่งแวดล้อมของนกด้วย เช่น จัดเตรียมรัง พื้นที่เงียบหงบ ปลอดภัย เพื่อให้นกวางไข่ได้ โดยส่วนใหญ่หากไม่ได้มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง หลังจากการ stabilization นกจะสามารถวางไข่ได้เอง แต่ในกรณีที่นกมีอาการแย่ลงและดูไม่ตอบสนองต่อการรักษา supportive care ให้พิจารณาการรักษาในรูปแบบอื่น (แสดงดังตารางที่ 6)

แนวทางการรักษาภาวะฉุกเฉินของภาวะไข่ค้างและคลอดยาก (Emergency treatment of egg binding and dystocia)

สำหรับนกที่มีปัญหาไข่ค้าง (Egg binding) และอาการภายนอกไม่ได้ดูแย่มาก สามารถเริ่มต้นการรักษาโดย supportive treatment ก่อนได้ เช่น Heat supplement, fluids, nutritional support และอาจพิจารณาให้ Calcium supplement (100mg/kg) SC, PO ได้เลย เนื่องจากภาวะ malnutrition และ hypocalcemia เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะไข่ค้างที่พบได้บ่อยมาก นอกจากนี้ควรจัดการในส่วนของสิ่งแวดล้อมของนกด้วย เช่น จัดเตรียมรัง พื้นที่เงียบหงบ ปลอดภัย เพื่อให้นกวางไข่ได้ โดยส่วนใหญ่หากไม่ได้มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง หลังจากการ stabilization นกจะสามารถวางไข่ได้เอง แต่ในกรณีที่นกมีอาการแย่ลงและดูไม่ตอบสนองต่อการรักษา supportive care ให้พิจารณาการรักษาในรูปแบบอื่น

การรักษาทางยา (Pharmaceuticals)

  • Prostaglandin E topical gel สามารถประยุกต์ใช้ในรูปแบบ topical ที่บริเวณร vent ได้ (dose 0.1mL/100g) ซึ่งจะทำให้เกิดการคลายตัวของ Uterovaginal sphincter และช่วยกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก (Uterine contraction) ด้วย / Prostaglandin E gel มีราคาค่อนข้างแพงและเก็บรักษาได้ค่อนข้างยาก
  • Oxytocin (0.5 IU/kg) IM ช่วยให้เกิดการบีบตัวของมดลูก (Uterine contraction) แต่มีผลน้อยมากในกลุ่มของนก สามารถใช้ร่วมกับ Prostaglandin E ได้ แต่ในทางกลับกันหากใช้ Oxytocin ในกรณีที่ยังไม่มีการคลายของ Uterovagnial sphincter จะทำให้นกอาการแย่ลง และ ก่อนการใช้ Oxytocin ควรทำการวินิจฉัยแยกโรคว่านกไม่ได้อยู่ในภาวะคลอดยาก (Dystocia) อันมีสาเหตุมาจาก ไข่ที่มีขนาดใหญ่เกินไป(Too large egg) หรือ ไข่ผิดรูป (Malformed egg) ด้วยการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ก่อนเสมอ

การช่วยคลอด (Manual manipulation)

  • เป็นการค่อยๆ ช่วยบีบไข่ให้ออกมาจาก pelvic canal ซึ่งควรที่จะทำภายใต้การวางยาสลบในทุกกรณี (Generalized anesthesia or heavy sedation) ให้ค่อยๆ นวดเบาๆ (Gently massaging) หารูเปิดของ cervix แล้วถ่างออกโดยใช้ hemostat หรือ cotton swab ร่วมกับการบีบไล่ไข่ออกมา ข้อแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในการทำ ได้แก่ การเกิดความเสียหายที่ปากมดลูก ท่อนำไข่ หรือ เกิดการปลิ้นของท่อนำไข่ออกมา ซึ่งเกิดจากการช่วยบีบที่รุนแรงและไม่เหมาะสม

การเจาะดูดไข่ (Ovocentesis)

  • Cloacal approach จะทำในกรณีที่เห็นไข่บางส่วนออกมาทางช่องคลอด อาจใช้ Otoscope cone, Speculum หรือ Ring retractor ช่วยด้วยได้ ใช้เข็มเบอร์ 18 เจาะไข่ผ่านทาง Cloaca และดูด egg content ออก จะทำให้ไข่แฟ่บลงและสามารถเอาเปลือกออกมาได้ง่ายมากขึ้น
  • Transabdominal apporach เป็นการเจาะดูด egg content ผ่านช่องลำตัว ใช้มือล็อคไข่ให้ติดกับผนังช่องลำตัว ใช้เข็มเบอร์ 18 เจาะไข่และดูด egg content ออกมา

ทั้ง 2 วิธีควรทำภายใต้การวางยาสลบทุกกรณี

หลังจากที่เจาะเอา egg content ออกไปแล้ว เปลือกไข่ควรถูกขับออกมาภายใน 48 hr หลังจากการทำ

ข้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้จากการทำ ได้แก่ การเกิดความเสียหายของท่อนำไข่ หรือ การรั่วไหลของไข่แดงออกมาในช่องลำตัว ซึ่งอาจโน้มนำให้เกิดภาวะช่องลำตัวอักเสบ (Egg yolk coelomitis) ตามมาได้