เนื้องอกรากฟัน หรือ Pseudo-Odontoma ในกระรอก หรือ แพรี่ด๊อก ... ยาวมาก แต่ตั้งใจเขียนนะ นิสิต นักศึกษา อ่านแล้วฝากบอกต่อเพื่อนๆด้วยนะ .. นี่คือ 1 โรคฮิต ที่จบมายังไงก็ได้เจอ ส่วนผู้เลี้ยง อ่านเพื่อทราบถึงขั้นตอน การรักษา คร่าวๆนะครับ
อาการที่แสดงออก .. มักจะพบว่าสัตว์แสดงอาการหายใจเข้าลำบาก และ ใช้ช่องท้องช่วยในการหายใจ บางครั้ง เจ้าของมักจะเข้าใจผิดว่า เป็นโรคปอด
การวินิจฉัยต้องใช้ภาพ X-ray ช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งจะทำให้ทราบตำแหน่ง และ ช่วยพิจารณา ว่าเราจะทำการผ่าตัดด้วยวิธีใด
ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนแต่จากการที่มีการกล่าวถึงนั้น แบ่งได้หลักๆ จากการกัดแทะอาหารที่นิ่ม หรือ แข็งเกินไป หรือการกัดแทะกรง ทำให้ เนื้อเยื่อรากฟัน มีการกระทบกระเทือนจนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็น เนื้องอกกระดูกรากฟัน
การป้องกันนั้น มักแนะให้อาหารเม็ด และหญ้าสม่ำเสมอ ในแพรี่ด๊อก และ ในกระรอก มีการเพิ่มอาหารสำเร็จรูปที่มีธัญพืช เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ เพิ่มเพื่อให้กัดแทะด้วยเนื่องจากผู้เลี้ยงส่วนใหญ่มักให้แต่ผลไม้ นิ่มๆ
แบ่งออกได้ 2 อย่าง คือ
รักษาประคองอาการ ในกรณี พิจารณาว่า การผ่าตัดมีความเสี่ยง และ สภาพสัตว์ไม่พร้อม โดยยาที่มักให้ร่วมกันก็คือ Antibiotics (ยาปฎิชีวนะ), Corticosteroids หรือ NSAIDs (ยาลดการอักเสบลดปวด หรือ สเตียรอยด์ และ Decongestant ยาลดน้ำมูก +/- ยาละลายเสมหะ ขึ้นกับอาการแต่ละตัว
การผ่าตัด สามารถ แบ่งได้ 4วิธี ขึ้นกับลักษณะของอาการ และ ประเมินจากภาพทางรังสีวิทยา
2.1 การผ่าตัดด้วยวิธี ถอนฟันปกติ ( Standard intraoral approch ) เช่นเดียวกับในกระต่าย วิธีใช้ได้เมื่อเป็นยังไม่เยอะ แต่หากรากฟัน มีความผิดปกมาก จะไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้
2.2 การถอนฟันด้วยด้วยเทคนิคพิเศษ ( Transpalatal intraoral approch ) ซึ่งหากรากฟันมีปัญหาผิดรูป หรือเกิดตุ่มเนื้องอกรากฟันแล้ว การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า โดย จะถอนฟันจากในช่องปาก และกรีดเปิด บริเวณเพดานปาก เพื่อให้เข้าถึงรากฟันได้ง่าย
2.3 Rhinotomy extra-oral technique การถอนฟัน ร่วมกับการเปิดบริเวณกระดูก nasal bone ซึ่งการเปิดผ่าวิธีนี้ สามารถทำร่วมกับเทคนิค Rhinostomy หรือเปิดช่องให้อากาศผ่านเข้าทางรูเปิดนี้ได้เลย
2.4 Lateral approch ซึ่งเป็นการเปิดเข้าด้านข้างจมูก โดยจะกรอเปิดกระดูกเล็กน้อยเพื่อให้เข้าถึงรากฟัน และทำการตัดและถอนออก
สิ่งที่ยากที่สุดในการรักษาแบบผ่าตัด คือการวางยาสลบ โดยการวางยาสลบ สามารถ ใช้ยาฉีด ( injectable ) หรือ ใช้ แก๊สสลบ ร่วมกับ ยาฉีด ก็ได้แล้วแต่ความถนัดและประสบการณ์ของผู้ผ่า ..
สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ การผ่าตัดนั้น ไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกทุกครั้ง เพราะจุดมุ่งหมายคือ ทำให้ อากาศ สามารถผ่านเข้าไปถึงปอดได้ ดังนั้น การวินิจฉัยเพื่อเลือกข้างที่จะผ่าตัด หรือ การทำ Rhinostomy โดยไม่ได้ถอนฟันออก ก็สามารถทำให้สัตว์มีอาการที่ดีขึ้นได้
เพราะหากใช้เวลาในการผ่าตัดมากเกินไป ทุกๆ 10 นาที จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 เท่าเสมอ .. ดังนั้นก่อนผ่าตัด ต้องมีแผนสำรอง หากแผน 1 ไม่ได้ผล แผน 2 แผน 3 คืออะไร และแผนฉุกเฉินหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นจะอย่างไร
ABC ที่เราเรียนกันมา มันจะช่วยให้เราจัดการป้องกัน วินาทีวิกฤต ได้อย่างไร
#Airway #Breathing จะดีกว่ามั้ยหากสัตว์หยุดหายใจ แล้วเราสามารถ ช่วยให้สัตว์หายใจผ่านท่อช่วยหายใจได้ ดังนั้น การสอดท่อ เพื่อช่วยหายใจมีความจำเป็น หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น .. และการที่มีท่อช่วยหายใจ ส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันการสำลักเลือด น้ำลาย และอาหารที่สำลักออกมา ระหว่างการผ่าตัด
#Circulation การผ่าตัดทุกครั้งจำเป็นต้องให้น้ำเกลือ เพื่อเพิ่มแรงดันเลือดระหว่างการวางยาสลบ และ หากจำเป็นต้องให้ยาฉุกเฉิน ก็จะได้ไม่เสียเวลามาหาเส้นเลือดกันใหม่ การผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยง อยู่ที่เราว่าจะทำยังไงให้ความเสี่ยงลดลง